จำหน่ายตามรอบปีงบประมาณ สำนักป้องกันฯ พร้อมส่งมอบเมื่อมีผู้ร้องขอ

สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ส่งมอบรถและอุปกรณ์ดับเพลิง ของสถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางชัน และสถานีดับเพลิงและกู้ภัยหัวหมาก กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 4 ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่ร้องขอ

นายสุรเดช อำนวยสาร รองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยนายดิเรก เพิ่มดี ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 4 ร่วมส่งมอบรถดับเพลิงและกู้ภัย จำนวน 1 คัน ตามโครงการจำหน่ายยานพาหนะเสื่อมสภาพโดยการโอนให้แก่ผู้ขอรับการสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ 2563 ดังนี้

  • เครื่องสำรองไฟฉุกเฉิน ของสถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางชัน จำนวน 1 เครื่อง ให้กับสำนักงานเทศบาลสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายศิริพงศ์ พูลทรัพย์ นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ เป็นผู้แทนรับมอบ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
  • รถบรรทุกน้ำดับเพลิง ขนาด 6,000 ลิตร ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี โดยมีนายวินัย ไหลล้น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้แทนรับมอบ โดยมีนายสัจจพร ยุวัฒนา หัวหน้าสถานีดับเพลิงและกู้ภัยหัวหมาก และนายคมสัน จันทร์ทอง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี ร่วมเป็นพยานในการส่งมอบ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ณ สถานีดับเพลิงและกู้ภัยหัวหมาก
  • ชุดผจญเพลิง (ชุดดับเพลิงภายในอาคาร) จำนวน 7 ชุด ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมชาติ โดยนายดิเรก เพิ่มดี ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 4 ส่งมอบให้กับนายอัศวเทพ กัมพลานนท์ พนักงานดับเพลิง องค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุเป็นผู้แทนรับมอบ และนายกฤติเดช กาละจิตต์ ร่วมเป็นพยาน เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ณ สถานีดับเพลิงและกู้ภัยหัวหมาก

นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ครั้งที่ 2/2565 ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์)

19 ตุลาคม 2565 เวลา 14.00 น. นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานการประชุมพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ครั้งที่ 2/2565 เพื่อพิจารณาการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้สอดคล้องกับภารกิจแผนพัฒนาบุคคลของกรุงเทพมหานคร และเป็นการดำเนินการตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการให้นักดับเพลิงและกู้ภัย กทม. อปพร. อาสาสมัครหรือมูลนิธิ มีความสามารถในการเข้าระงับเหตุ พร้อมรับมือสาธารณภัยต่างๆ สอดคล้องกับบริบทของกรุงเทพมหานคร โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบการกำหนดโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในปีพ.ศ.2567 จำนวน 8 หลักสูตร คือ 1. หลักสูตรการบริหารสถานีดับเพลิงและกู้ภัย 2. หลักสูตรพนักงานฉุกเฉินทางการแพทย์ 3. หลักสูตรการกู้ภัยทางน้ำ 4. หลักสูตรการบริหารจัดการภัยพิบัติจากสารเคมี 5. หลักสูตรเทคนิคการกู้ภัยในอาคาร 6. หลักสูตรทบทวนประจำปีงบประมาณพ.ศ.2567 7. หลักสูตรการบริหารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับต้น และ 8. หลักสูตรการบริหารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับสูง รวมถึงตามที่รป.กทม.(พญ.วันทนีย์ วัฒนะ) แนะนำให้จัดฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ในปี 2566 นี้ โดยมีพ.ต.อ.โชคชัย ยิ้มพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (บุคคลภายนอก) ร.ต.อ.สมชาย เชิดสงวน ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (บุคคลภายนอก) พ.ต.ท.อภิฉัตร วิเลิศปรีชาตระกูล รองผู้อำนวยการสำนักฯ นายสุรเดช อำนวยสาร รองผู้อำนวยการสำนัก นายพัลลภ ไพฑูรย์บัวทอง ผู้อำนวยการสำนักงานอำนวยการสาธารณภัย จ.ส.ต.ทศพล คำบุญมา เลขานุการสำนัก ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 1-6 นายสนธยา ดำเปลื้อง หัวหน้ากลุ่มงานฝึกอบรม และเจ้าหน้าที่สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารกองปฎิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ระดมความคิด ร่วมกันพิจารณาหาแนวทาง จัดประชุมเสนอร่างแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564-2570

การจัดประชุมเสนอร่างแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2564-2570 และร่างคู่มือการบริหารจัดการสาธารณภัยสำหรับผู้อำนวยการเขต ร่วมกับ ปภ.จังหวัดข้างเคียง โดยมี รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

18 ตุลาคม 2565 เวลา 09.30 น. นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วย พ.ต.ท.อภิฉัตร วิเลิศปรีชาตระกูล รองผู้อำนวยการสำนัก นายสุรเดช อำนวยสาร รองผู้อำนวยการสำนัก และผู้บริหารสำนักป้องกันฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ จัดการประชุม (ร่าง) แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2564-2570 และ (ร่าง) คู่มือการบริหารจัดการสาธารณภัยสำหรับผู้อำนวยการเขต ร่วมกับ ปภ.จังหวัดข้างเคียงกรุงเทพมหานคร โดยมีรศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุม และพญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร พล.ต.อ.อดิศร์ งามสุขศรี ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายจิรัฎฐ์ ม้าไว ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมประชุม โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เชิญผู้อำนวยการเขต และหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร เข้าร่วมพิจารณาและให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร
รผว.กทม. (ผศ.ดร.ทวิดาฯ) กล่าวว่า ขอให้ผอ.เขต ทุกเขต และปภ.จังหวัดข้างเคียง ร่วมกันพิจารณาและส่งข้อเสนอแนะแผนป้องกันฯ ดังกล่าว เนื่องจากผอ.เขต ต้องเป็นผู้ดำเนินการตามแผน และปภ.จังหวัด ก็มีพื้นที่ติดกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งอาจจะมีปัญหาเรื่องสาธารณภัยต่างๆ ร่วมกัน อันจะส่งผลให้การบริหารจัดการภัยมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนได้อย่างทันท่วงที

​ การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ​(VTC)​ร่วมกับศูนย์​อำนวยการ​ใหญ่​จิต​อาสา​พระราชทาน​

วันที่​ ๑๒ พฤษภาคม​ ๒๕​๖​๕​ การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ​(VTC)​ร่วมกับศูนย์​อำนวยการ​ใหญ่​จิต​อาสา​พระราชทาน​ และการประชุมติดตาม​งาน​​ของศูนย์​อำนวยการ​จิต​อาสา​พระราชทาน​ กรุงเทพ​มหานคร​ โดย​มี​นายพัลลภ​ ไพฑูรย์​บัว​ทอง​ ผู้​อำนวยการ​สำนัก​งานอำนวยการ​สาธารณภัย​ ในฐานะ​ผู้ช่วยเลขานุการ​ศูนย์​อำนวย​กา​รจิต​อาสา​พระราชทาน​ กรุงเทพ​มหานคร​ เป็น​ประธาน​การประชุม​ พร้อมด้วยนายกร​ ดีลี​ ผู้​อำนวยการ​ส่วน​ช่วย​บัญชาการ​สาธารณภัย​ นางสาว​สมศรี​ ฟุ้ง​ขจร​ หัวหน้า​ฝ่าย​กิจการ​อาสา​สมัคร​ และผู้แทนหน่วยงาน​ของ​กรุงเทพ​มหานคร​ที่เกี่ยวข้อง​เข้าร่วม​ประชุม​ฯ​ ณ​ ห้องประชุม​ชั้น​ ๑๙​ อาคาร​ธานี​นพรัตน์​ ศาลา​ว่าการ​กรุงเทพ​มหานคร​ ๒

สำนักป้องกันฯ ส่งมอบรถยนต์ฯ ที่จำหน่ายตามที่มีผู้ร้องขอ

ันนี้ (18 เมษายน 2565) เวลา 09.00 น. นายสุรเดช อำนวยสาร รองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยนายดิเรก เพิ่มดี ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 4 ร่วมส่งมอบรถดับเพลิงและกู้ภัย ตามโครงการจำหน่ายยานพาหนะเสื่อมสภาพโดยการโอนให้แก่ผู้ขอรับการสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ 2563 เฉพาะรายการของกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 4 จำนวน 3 คัน และในคราวนี้เป็นการส่งมอบรถยนต์กระบะ ดีเซล ขนาด 1 ตัน ขับเคลื่อน 2 แบบดับเบิ้ลแค็บ ของสถานีดับเพลิงและกู้ภัยหัวหมาก กปก.4 จำนวน 1 คน ให้กับวิทยาลัยการอาชีพละงู โดยมีนายกฤษณุ ชูสกุล ครูชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการอาชีพละงู อ.ละงู จ.สตูล เป็นผู้แทนรับมอบ ซึ่งทางวิทยาลัยฯ ได้ร้องขอมาเพื่อจะนำไปฝึกทักษะให้กับนักศึกษาของวิทยาลัยฯ โดยมีนายสัจจพร ยุวัฒนา หัวหน้าสถานีดับเพลิงและกู้ภัยหัวหมาก เป็นพยานในการส่งมอบ

ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขตคลองเตย เข้าตรวจเยี่ยม นักดับเพลิงและกู้ภัยคลองเตย

เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2565 ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขตคลองเตย เข้าตรวจเยี่ยม นักดับเพลิงและกู้ภัยคลองเตย จุดเฝ้าระวังช่วงเทศกาลสงกรานต์ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) ที่เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่ช่วง เวลา 08:00-20:00 น.

แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2565

ผอ.สปภ.ตรวจจุดเฝ้าระวังช่วงเทศกาลสงกรานต์ 7 วันอันตราย

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2565 เวลา 11.20 น. นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ลงพื้นที่ตรวจจุดเฝ้าระวังช่วงเทศกาลสงกรานต์ 7 วันอันตราย ณ.จุดสายใต้ใหม่

สำนักป้องกันฯ รับมอบสิ่งของและอุปกรณ์สนับสนุนภารกิจช่วยเหลือประชาชน

วันนี้ (8 เมษายน 2565) เวลา 13.00 น. นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สปภ. ร่วมรับมอบสิ่งของจากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยคุณอดิศักดิ์ เทพอาสน์ ที่ปรึกษาประธานบริษัท ที่เป็นตัวแทนมอบเสื้อกั๊ก จำนวน 235 ตัว กระบองไฟฉาย จำนวน 94 อัน และน้ำดื่ม จำนวน 70 แพ็ค ให้กับนักดับเพลิงและกู้ภัย กทม. สำหรับใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ณ ลานอนุสาวรีย์นักดับเพลิงและกู้ภัย กทม. ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

สปภ.กทม. ผนึกกำลัง 8 อปท. สมุทรปราการและปทุมธานี ลงนาม MOU เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันสาธารณภัย

สปภ.กทม. ผนึกกำลัง 8 อปท. สมุทรปราการ/ปทุมธานี ลงนาม MOU เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันสาธารณภัย

         

วันที่ 24 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 น. นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในนามผู้แทนกรุงเทพมหานคร ลงนามบันทึกข้อตก (MOU) ความเข้าใจด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระหว่าง กรุงเทพมหานคร กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.สมุทรปราการ 3 แห่ง และ จ.ปทุมธานี 5 แห่งประกอบด้วย เทศบาลเมืองบางแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ องค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ เทศบาลเมืองลาดสวาย เทศบาลตำบลลำลูกกา องค์การบริหารส่วนตำบลลำลูกกา องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทองหลาง และองค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ณ ห้องประชุมสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

          วัตถุประสงค์ของการลงนามในบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ เป็นการแสดงถึงเจตนารมณ์ที่จะร่วมกันดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรม สร้างความร่วมมือในระบบบริหารจัดการสาธารณภัย มีความพร้อมด้านทรัพยากร ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลือและบริการอย่างเป็นธรรม พื้นที่ประสบภัยได้รับการฟื้นฟูอย่างทันท่วงที โดยให้ทุกภาคส่วนบูรณาการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติดังนี้

          1.มุ่งเน้นการพัฒนาความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเหตุสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น ทั้งกำลังพลและวัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากรที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่ และมีการฝึกเพิ่มพูนทักษะความรู้ร่วมกัน

          2. บูรณาการร่วมมือกันในการช่วยเหลือและระงับเหตุ

          3. ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานตามสภาวการณ์ที่เป็นจริง ในพื้นที่จริง โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่อย่างเป็นระบบ

          4. ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน การสั่งการไปสู่การปฏิบัติการที่รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์   

          5.ลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยคาดว่าการจัดทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากสาธารณภัยมากยิ่งขึ้น

1 14 15 16 17